เกี่ยวกับโครงการ
พระราชวังสราญรมย์ ตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวังและวัดราชประดิษฐ์ พระราชวังแห่งนี้เป็นอาคารก่ออิฐ 2 ชั้นออกแบบโดย Henry Alabaster ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของรัชกาลที่ 5 ถูกสร้างขึ้นในปี 2409 และได้รับการดัดแปลงให้เป็นสำนักงานใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศจนถึงปี พ.ศ. 2465 ณ ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ของกระทรวงการต่างประเทศและอยู่ในเขตสวนสราญรมย์ ด้วยเหตุที่อาคารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมานานกว่า 100 ปี โครงสร้างและวัสดุจึงเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เป้าหมายของ Stonehenge คือการบูรณะและฟื้นฟูพระราชวังให้กลับสู่สภาพเดิม โดยการปรับปรุงครั้งใหญ่นี้มุ่งเน้นไปที่โครงสร้างของอาคารและการก่อสร้างอาคารใหม่ที่ผสมผสานไปกับตัวอาคารเดิม
เริ่มจากการรื้อถอนอาคาร 4 ชั้นฝั่งตะวันออกควบคู่กันกับการสำรวจและออกแบบอาคารใหม่ ผู้ออกแบบได้เสนอการติดตั้ง“ Under pin” ความยาว 6 เมตรเข้ากับฐานรากของโครงสร้างเดิมโดยใช้เครนขนาดเล็กตอกลงไป แต่เนื่องจากปัญหาเรื่องระยะของอาคาร ทำให้ต้องมีการแบ่งเสาเข็มออกเป็น 3 ส่วน ชิ้นละ 2 เมตรและเชื่อมเข้าด้วยกันอีกครั้งหลังการติดตั้ง มีการติดตั้งเสาเข็มและเสาค้ำไว้ใต้ดินเพื่อป้องกันดินสไลด์ซึ่งอาจทำให้โครงสร้างเสียหายอย่างรุนแรงภายหลัง และมีการยึดตัวคานเหล็กเข้ากับด้านข้างของผนังและเชื่อมเข้าด้วยกันเพื่อเสริมกำลังให้กับโครงสร้างเก่า ความท้าทายในทางวิศวกรรมโครงสร้างสำหรับโครงการนี้เกิดจากการก่อสร้างชั้นใต้ดิน เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับอาคารเก่ามากและมีข้อจำกัดในการควบคุมความชื้น จึงมีความจำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกับโครงสร้างเดิมซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อ 140 ปีที่แล้ว
เมื่อการเสริมโครงสร้างเสร็จสมบูรณ์ เราพบว่าพื้นภายในอาคารมีความไม่เท่ากันโดยมีความสูงที่แตกต่างกันระหว่างด้านทิศเหนือและใต้และแตกต่างกันประมาณ 20 ซม. ก่อให้เกิดปัญหาสำหรับการก่อสร้างบัวที่ด้านหน้าของอาคารโดย ในการแก้ปัญหานี้บัวจะต้องได้รับการปรับแต่งอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ตรงและเชื่อมต่อกัน ผนังคอนกรีตทั้งหมดจะต้องนำออกมาทำความสะอาดและลดความชื้นโดยอิฐที่เสื่อมสภาพจะถูกทยอยนำออกและแทนที่ด้วยอิฐที่ทำขึ้นใหม่ในแบบเดียวกัน รวมถึงกระเบื้องซีเมนต์เซาะร่องและกระเบื้องลายในคอร์ตกลางถูกปรับแต่งให้คล้ายกับลวดลายดั้งเดิมการปรับปรุงใหม่ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 11 ปีซึ่งวังสราญรมย์ได้กลายมาเป็นอาคาร 2 ชั้นในแบบ “Palladian Style” ทั้งภายในและภายนอก โดยการตกแต่งภายในส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบดั้งเดิมเพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เดิม และจุดเด่นที่ชัดเจนที่สุดของอาคารนี้คือระเบียงด้านหน้าที่ยื่นออกมาพร้อมการออกแบบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆอันละเอียดละออและพระราชลัญจกรประจำรัชการที่ประดับด้านบนของอาคาร